โชว์รูมรถยนต์ต่างๆมีการฆ่าเชื้อเพื่อให้ลูกค้าวางใจ

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 68,271 คัน ลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณการขายลดลง ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 27,356 คัน ลดลง 15.6% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 40,915 คัน ลดลง 18.1% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 33,376 คัน ลดลง 18.5% สืบเนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ทำให้ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย 

Advertisement

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 2 เดือน มีปริมาณการขาย 139,959 คัน ลดลง 12.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 7.9% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 15.9% เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

นอกจากนี้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง

“แต่อย่างไรก็ตามค่ายรถยนต์ยังคงมีความพยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคมยังคงเป็นที่น่าจับตามอง” นายสุรศักดิ์กล่าว

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,271 คัน ลดลง 17.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า18,606 คัน
ลดลง 27.2%ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
14,484 คัน
ลดลง 2.1%
ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า9,761 คันเพิ่มขึ้น 0.7%ส่วนแบ่งตลาด 14.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 27,356 คัน ลดลง 15.6%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า
8,409 คัน
เพิ่มขึ้น 12.9%
ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
6,364 คัน
ลดลง 32.7%ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน
3,013 คัน
ลดลง 13.8%
ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,915 คัน ลดลง 18.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
14,484 คัน
ลดลง 2.1%
ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
12,242 คันลดลง 23.9%
ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ3,508 คัน
ลดลง 17.2%
ส่วนแบ่งตลาด  8.6%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 33,376 คัน ลดลง 18.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
13,604 คัน
ลดลง 0.7%ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
10,599 คันลดลง 25.6%
ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
3,508 คัน
ลดลง 17.2%ส่วนแบ่งตลาด 10.5%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,539 คัน
โตโยต้า 1,183 คัน – มิตซูบิชิ 904  คัน – อีซูซุ 652  คัน – ฟอร์ด 450  คัน – เชฟโรเลต 192 คัน – นิสสัน 158 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,837 คัน ลดลง 15.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
12,952 คัน
เพิ่มขึ้น 0.4%
ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
9,416 คันลดลง 21.5%
ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
2,604 คัน
ลดลง 13.9%ส่วนแบ่งตลาด  8.7%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 139,959 คัน ลดลง 12.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
38,829 คันลดลง 25.8%ส่วนแบ่งตลาด 27.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ28,769 คัน
เพิ่มขึ้น 4.6%
ส่วนแบ่งตลาด 20.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
21,172 คันเพิ่มขึ้น 11.5%ส่วนแบ่งตลาด 15.1%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 57,687 คัน ลดลง 7.9%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า17,889 คัน
เพิ่มขึ้น 24.5%
ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
13,255 คันลดลง 29.3%
ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน
6,716 คันเพิ่มขึ้น 3.8%
ส่วนแบ่งตลาด 11.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 82,272 คัน ลดลง 15.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
28,769 คัน
เพิ่มขึ้น 4.6%
ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
25,574 คันลดลง 23.8%
ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
6,905 คัน
ลดลง 17.3%
ส่วนแบ่งตลาด 8.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 66,667 คัน ลดลง 17.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
26,986 คันเพิ่มขึ้น 6.2%
ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
22,384 คันลดลง 25.7%
ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
6,905 คัน
ลดลง 17.3%ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 6,759 คัน
โตโยต้า 2,358 คัน
 – มิตซูบิชิ 1,853 คัน – อีซูซุ 1,123 คัน – ฟอร์ด 879 คัน – เชฟโรเลต 316 คัน – นิสสัน 230 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 59,908 คัน ลดลง 14.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
25,863 คัน
เพิ่มขึ้น 8.2%
ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
20,026 คันลดลง 21.7%
ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
5,052 คัน
ลดลง 17.3%ส่วนแบ่งตลาด 8.4%